เครื่องมือจัดกิจกรรมสำหรับ คุณครู, ผู้ที่ทำงานกับเยาวชน
เครื่องมือจัดกิจกรรมที่แนะนำ
คู่มือการใช้งานเครื่องมือ

เลือกจาก :
รีวิวจากผู้ใช้เครื่องมือจัดกิจกรรม
FamSkool ค่อนข้างเหมาะกับบริบทของสังคมตอนนี้ ภาพที่เราเห็นก็จะมีเรื่องของการเรียนที่ไม่ค่อยมีความสุขของเด็ก ๆ
เด็กโดดเรียน หลุดจากการศึกษาเยอะ การสร้างห้องเรียนเชิงบวก การทำงานกับสมองของมนุษย์ด้วยการ
ทำให้เกิดสมองที่อยากเรียนรู้ ห้องเรียนที่มีความสุขน่าจะช่วยได้ หากทำได้จริงนักเรียนก็เรียนได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
ครูก็มีความสุขมากขึ้น

ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร
หมอโอ๋ เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ “เลี้ยงลูกนอกบ้าน”
FamSkool เริ่มจากการที่เรามองเห็นช่องว่างในการพัฒนาเด็กในโรงเรียน เวลาเด็กมีปัญหาจะแก้ไขอย่างไร พ่อแม่มักจะไม่ค่อยรู้ว่าโรงเรียนทำอะไร โรงเรียนก็ไม่รู้ว่าที่บ้านเป็นยังไง ช่องว่างระหว่างบ้านกับโรงเรียนยังไม่ได้เชื่อมโยงกัน ผมในฐานะที่เป็นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น แล้วก็ทำงานเรื่องโรงเรียนอยู่ เรารู้ว่าการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ ในเด็กจะง่ายขึ้นถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน การที่ครูทำงานร่วมกับครอบครัวจึงเป็นพลังมาก เพราะช่วยกันสองทาง

ผศ.นพ.พนม เกตุมาน
จิตแพทย์ สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
การเป็นหุ้นส่วนของพ่อแม่ โรงเรียน แล้วก็ตัวเด็ก ๆ สิ่งนี้จะพาเด็ก ๆ ข้ามทุกอุปสรรคไปได้อย่างราบรื่น เราต้องกำหนดชัดเจน
ให้พ่อแม่เห็นตั้งแต่เบื้องต้นของการพาลูกมาเรียนที่นี่ว่าเราจะทำงานเป็นหุ้นส่วนกันนะ ช่วยกันประคับประคองเด็ก ๆ ให้เดินทางต่อไปอย่างราบรื่น แล้วเจอปัญหาก็จะคุยกันได้ทันเวลา ทันสถานการณ์

ป้ามล ทิชา ณ นคร
ผู้อำนวยการ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก
ถ้าที่บ้านกับที่โรงเรียนเข้าใจแล้วใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการดูแลเด็ก 24 ชั่วโมง เราก็จะได้เด็กที่มีสุขภาพจิตดี มีวุฒิภาวะตามวัย มีทักษะ
ที่จะบริหารจัดการอารมณ์ตัวเองได้ แล้วก็ดูแลคนอื่นได้ด้วย เราก็จะ ได้ผู้ใหญ่ที่ไม่หัวร้อน เราจะได้วัยรุ่นที่ไม่หัวร้อน เราจะได้วัยรุ่นที่ดูแล
ตัวเองกำกับความคิดและพฤติกรรมตัวเองได้

คุณณัฐยา บุญภักดี
ผู้อำนวยการสำนักสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว (สำนัก 4) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ภายในระยะเวลาไม่นาน โครงการสามารถปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการ
สื่อสาร แนวปฏิบัติและบรรยากาศในโรงเรียนและชุมชน ตลอดจน
ความสัมพันธ์ระหว่างครู ผู้ปกครองและนักเรียนให้เกิดเป็นความร่วม
แรงร่วมใจเพื่อลูกหลานอย่างแท้จริง

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ